โครงการศึกษาเทคโนโลยีตรวจวัด ติดตามเตือนภัย และบริหารจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติดินสไลด์ในโครงข่ายทางหลวง
รหัสความรู้:
BP0000000308-06
ประเภท:
รายงาน (การศึกษา การประชุมทางวิชาการ ประชุมคณะกรรมการ/ทำงาน ประชุมอื่น ๆ)
คำสำคัญ :

ชื่อผู้จัดทำ:
โดยสำนักวิจัยและพัฒนางานทาง กรมทางหลวง ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมี ดร.อัคคพัฒน์ สว่างสุรีย์ วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ (หัวหน้าโครงการ)
หน่วยงาน:
สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง
ปีที่จัดทำ:
2022
หมวดหมู่เนื้อหาความรู้:
Best Practice
จำนวนผู้เข้าชม:
417
กรมทางหลวง (ทล.) โดยสำนักวิจัยและพัฒนางานทาง ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินโครงการศึกษาเทคโนโลยีตรวจวัด ติดตาม เตือนภัย และบริหารจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติดินสไลด์ในโครงข่ายทางหลวง เพื่อแก้ปัญหาดินสไลด์ปิดทับทางหลวงจากภัยพิบัติธรรมชาติ คันทางชำรุดเสียหายเนื่องจากน้ำกัดเซาะถนนถูกตัตขาดต้องปิดเส้นทางสัญจร ทำให้ประชาชนเสียเวลา ไม่ได้รับความสะดวก ความปลอดภัยในการเดินทาง ส่าหรับผลงาน "การศึกษาเทคโนโลยีตรวจวัดติดตาม เตือนภัย และบริหารจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติดินสไลด์ในโครงข่ายทางหลวง" ได้รับรางวัลชมเชย ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) และยังได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่างๆ เช่น การเยี่ยมชมการดำเนินงานโครงการฯ โดยคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในการทำงาน ด้านวิศวกรรมเชิงลาดให้กับบุคลากรกรมทางหลวงที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่แขวงทางหลวงเชียงใหม่ที่ 1 แขวงทางหลวงเชียงใหม่ที่ 2 และแขวงทางหลวงเลยที่ 2 (ด่านซ้าย) ซึ่งเป็นแนวทางที่นำไปปรับใช้กับพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติดินสไลด์ในความดูแลรับผิดชอบได้ เนื่องจากผลการดำเนินงานมีแนวโน้มที่ดี กรมทางหลวงจึงเตรียมการเสนอแผนการพัฒนาต่อยอดและขยายผลการศึกษานวัตกรรมและเทคโนโลยีในการตรวจวัด ติดตาม เตือนภัยและบริหารจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติดินสไลด์ ให้ครอบคลุมโครงข่ายทางหลวงเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาดินสไลด์ คันทางชำรุดเสียหายเนื่องจากน้ำกัดเซาะ เพื่อลดอุบัติเหตุและเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทาง
![]() |
|
|
|